ภูมิปัญญา หมายถึง ประสบการณ์ในการประกอบอาชีพ ในการศึกษาเล่าเรียน การที่ชาวนารู้รักวิธีทำนา การไถนา การเอาควายมาใช้ในการไถ่นา การรู้จักนวดข้าวโดยใช้ควาย รู้จักสารกระบุง ตะกร้า เอาไม้ไผ่มาทำเครื่องใช้ไม้สอยในชีวิตประจำวัน เรียกว่าภูมิปัญญาทั้งสิน
ภูมิปัญญา เป็นผลึกขององค์ความรู้ที่มีกระบวนการสั่งสม สืบทอด กลั่นกรองกันมายาวนาน ที่มีมาหลากหลายแต่ได้ประสบประสานกันจนเป็นเหลี่ยมกรณีที่จรัสแสงคงทนและท้าท้ายตลอดกาลเวลา ความรู้อาจจะไม่ได้เป็นเอกภาพ แต่ภูมิปัญญาจัดว่าเป็นเอกลักษณ์
ดังนั้น อาจสรุปได้ว่า ภูมิปัญญา หมายถึง องค์ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของคนในท้องถิ่น ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้มาเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะเป็นองค์รวม และคุณค่าทางวัฒนธรรม
ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นองค์ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมและสืบทอดกันมา เป็นความสามารถและศักยภาพในเชิงการแก้ปัญหา การปรับตัวเรียนรู้และสืบทอดไปสู่คนรุ่นต่อไป เพื่อการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์หรือเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน
ภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นวิธีการปฏิบัติของชาวบ้าน ซึ้งได้มาจากประสบการณ์แนวทางแก้ปัญหาแต่ละเรื่อง แต่ละประสบการณ์ แต่ละสภาพแวดล้อม ซึ้งจะมีเงื่อนไขปัจจัยเฉพาะแตกต่างกันออกไป นำมาใช้แก้ไขปัญหาโดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่โดยชาวบ้านคิดเอง เป็นความรู้ที่สร้างสรรค์และมีส่วนเสริมสร้างการผลิต หรือเป็นความรู้ของชาวบ้านที่ผ่านปฏิบัติมาแล้วอย่างโชกโชน เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรม เป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้มีพลังและสำคัญยิ่ง ช่วยให้ชาวบ้านมีชีวิตอยู่รอดสร้างสรรค์การผลิตและช่วยในด้านการทำงาน เป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุ มีผลในตัวเอง
ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของคน ผ่านกระบวนการศึกษา สังเกต คิดว่าวิเคราะห์จนเกิดปัญญาและตกผลึกเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกันขึ้นมาจากความรู้เฉพาะหลายๆ เรื่อง จัดว่าเป็นพื้นฐานขององค์ความรู้สมัยใหม่ที่จะช่วยในการเรียนรู้ การแก้ปัญหาจัดการและการปรับตัวในการดำเนินชีวิตของคนเรา ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ทั่วไปในสังคม ชุมชนและในตัวผู้รู้เอง จึงควรมีการสืบค้นรวบรวม ศึกษา ถ่ายทอดพัฒนาและนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง
ภูมิปัญญาไทยหมายถึง องค์ความรู้ ความสามารถ ทักษะของคนไทยที่เกิดจากการส่งเสริมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการการคัดเลือกสรร เรียนรู้ปรุงแต่งและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคสมัย
1.ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกใช้เป็นพื้นฐานในการคิดค้นผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมสมัยใหม่ กล่าวคือ นักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์จะทำการค้นคว้าหาเหตุผลที่ชาวบ้านใช้ผลผลิตที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหาแต่ละอย่าง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ผลผลิตทางด้านการแพทย์และการรักษาโรค ยาแผนปัจจุบันหลายชนิดเป็นสารสกัดจากตัวยาแผนโบราณ อาทิ Quinine สกัดจากเปลือกต้นซิงโคนา ใช้รักษาโรคมาลาเรีย Caffeine และ Theobromine ซึ้งได้จากใบชาและเมล็ดกาแฟ มีผลในการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ว่านหางจระเข้ มะขามแขก ชุมเห็ดเทศ และโกสน้ำเต้ามีสาร Anthraquinone ซึ้งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ใหญ่
2.ภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกใช้เป็นสินค้าทดแทนสินค้าสมัยใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งรายได้ อาหาร และยารักษาโรคที่สำคัญแก่ประชากรในประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา
วิธีการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในปัจจุบันนี้ คงอยู่ในสภาพของความเสื่อมเพราะขาดการสืบทอด เยาวชนรุ่นใหม่มองเห็นเป็นเรื่องน่าอาย หรือไม่มีเวลาที่จะสนใจจนขาดการสืบทอดต่อ ดังนั้นปัญหาในการอนุรักษ์ส่งเสริมและเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นน่าจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1.ความเจริญทางวัตถุหลั่งไหลเข้ามามาก สื่อมวลชนซึ่งเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่างๆ เข้ามาในหมู่บ้านทุกแห่ง ทำให้เกิดการเลียนแบบค่านิยมสมัยใหม่ความสนใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงขาดช่วงไป
2.ขาดการถ่ายทอดจากผู้รู้สู่คนรุ่นใหม่ ภูมิปัญญาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเพณีพิธีกรรมศิลปหัตถกรรมประเภท การทอผ้า เครื่องจักสวน ปล่อยให้ตายไปตามตัวหรือท้อถอยต่อการที่จะถ่ายทอดเพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจ
3.ขาดความเอาใจใส่และเห็นความสำคัญจากหน่วยงานของรัฐบาล ในบัจจุบันภาครัฐบาลมุ่งส่งเสริมความเจริญ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ จนลืมนึกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมุ่งแต่ให้เจริญรุดหน้าทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุน โดยไม่คำนึงถึงสภาพจิตใจของผู้คนและสังคม ขาดการดูแลเอาใจใส่อุปถัมภ์ค้ำจุนปราชญ์ชาวบ้านด้านต่างๆ
4.ขาดการศึกษาสืบทอด หน่วยงานที่เป็นสถาบันการศึกษามุ่งส่งเสริมการเรียนในสายวิชาการมากกว่าสายอาชีพ และไม่ให้ความสำคัญด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นรากฐานของวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตแบบไทย
จากปัญหาดังกล่าว อาจสรุปได้ว่า ในสภาวะการณ์ที่สังคมมีความเจริญก้าวกน้าทางเทคโนโลยีและมีผลทำให้วิถีชีวิตของสังคมในท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงไป การที่จะทำให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างชัดเจนมีโอกาสน้อย แต่การปลูกฝังความรู้เรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่เยาวชน ซึ่งเป็นปัจจัยในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังต่อเนื่องกันโดยหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีความใกล้ชิดกับเยาวชนเพื่อให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นรากฐานของวิถีชีวิตและการดำเนินชีวิตแบบไทยที่ยั่งยืนต่อไป