งานหัตถกรรมใยตาลโตนด
ใยตาลหรือใยโหนด คือ เส้นใยที่ได้จากโคนทางตาลโตนดตั้งแต่ส่วนที่ทางตาลเริ่มแยกออกเป็น ๒ แฉกคล้ายปีกนก ถึงโคนทางซึ่งโอบรัดติดอยู่กับลำต้น ชาวภาคใต้เรียก ว่า “กาบโหนด” โดยจะเลือกเอาแต่ทางของตาลต้นหนุ่ม โดยนำเอากาบตาลส่วนดังกล่าวมาทุบแล้วดึงให้เป็น “เส้นใย” กาบโหนดแต่ละอันจะมีเส้นใย ๓ สี คละปนกัน คือ สีขาว น้ำตาล และสีดำ สีเหล่านี้ ต่างกันตามความอ่อนแก่ของเส้นใย มีความเหนียวและทนทานต่างกัน เหมาะที่จะเลือกใช้สอยและประดิษฐ์ลายตามธรรมชาติของสี เรียกเครื่องจักสานที่ทำด้วยใยตาลว่า “ หัตถกรรมใยตาล ”
ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสงขลา, ๒๕๖๘
โหนดทิ้ง
โหนดทิ้ง คือ กาบต้นตาลโตนดส่วนที่ทิ้ง นำมาเพิ่มมูลค่าด้วยภูมิปัญญาการผลิตเชือกผูกเรือของชาวสทิงพระ กลายเป็นงานหัตถกรรมใยตาลแปรรูป เช่น หมวก กระเป๋า และ เฟอร์นิเจอร์ ที่แข็งแรงทนทาน ออกแบบสวยงาม โดดเด่นมีเอกลักษณ์
พืชประจำถิ่น คาบสมุทรสทิงพระ มีความหนาแน่นของต้นตาลโตนด ทำให้ชาวบ้านเอาส่วนต่าง ๆ ของตาลโตนดมาใช้ประโยชน์ก่อให้เกิด อาชีพเกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตจากน้ำตาลโตนด เช่น ผลิตภัณฑ์จากน้ำตาลโตนด (เหลว/ปีก/ปี๊ป/แว่น) ขนมต่างๆ หัตถกรรมจากใยตาล ใบตาล ไม้ตาล
วัฒนธรรมประเพณี หัตถกรรมใยตาลเกิดจากการต่อภูมิปัญญาบรรพบุรุษที่นำกาบตาลโตนดสดมาตีเป็นเส้นใยและฟั่นเป็นเชือกเพื่อใช้ในการผูกเรือเพราะอดีตไม่มีเชือกไนลอน อีกทั้งคุณสมบัติของเส้นใยตาลโตนดมีความแข็งแรงและทนทาน
องค์ประกอบเส้นใยกาบตาล
ภัทราภา จ้อยพจน์ และโสภิดา จรเด่น (๒๕๖๐) กล่าวว่าเส้นใยกาบตาลมีองค์ประกอบ คือ
-ลิกนิน ร้อยละ ๑๒.๒๐
-เซลลูโลส ร้อยละ ๖๒.๙๐
-เฮมิเซลลูโลส ร้อยละ ๑๘.๔๒
-เปกติน ร้อยละ ๑.๕๕
-อื่นๆ ร้อยละ ๔.๙๓

ลักษณะทางเคมี ฟิสิกส์ และชีววิทยา
ลักษณะทางเคมี
- องค์ประกอบหลัก: เซลลูโลส (Cellulose) : เป็นส่วนประกอบหลัก(ประมาณร้อยละ ๔๐-๖๐) มีโครงสร้างเป็นพอลิเมอร์สายยาว ช่วยทำให้เส้นใยมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) : ประมาณร้อยละ ๑๕-๓๐ ทำหน้าที่เชื่อมเซลลูโลสและช่วยเสริมความเหนียว ลิกนิน (Lignin) : ประมาณร้อยละ ๑๐-๒๐ ทำหน้าที่เสริมความแข็งแกร่งของเส้นใยและช่วยป้องกันการย่อยสลาย สารสกัด (Extractives): มีส่วนประกอบรอง เช่น โปรตีน แทนนิน และไข (Wax)
- สมบัติทางเคมี: เป็นวัสดุที่ทนต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีในสภาพแวดล้อมปกติ เช่น ความชื้น หรือแสง ทนต่อการย่อยด้วยกรด และด่างได้สูง
ลักษณะทางฟิสิกส์
- โครงสร้าง: เส้นใยมีลักษณะยาว เรียว และแข็งแรง มีความขรุขระเล็กน้อยบนผิวหน้า มีโครงสร้างเป็นเส้นใยไมโครไฟบริล (Microfibrils) ที่จัดเรียงตัวหนาแน่น
- น้ำหนักและความหนาแน่น: น้ำหนักเบา มีความหนาแน่นต่ำ (๑.๒–๑.๕ ก./ตร.ซม.)
- สมบัติทางกล: ความต้านทานแรงดึง (Tensile Strength): สูงเมื่อเทียบกับเส้นใยธรรมชาติชนิดอื่น ความยืดหยุ่น (Elasticity): ปานกลางถึงสูง ความทนทาน: ทนต่อแรงกระแทกและแรงบิด
ลักษณะทางชีวภาพ
- ความสามารถในการย่อยสลาย เป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายในสภาพแวดล้อมธรรมชาติ
- ความทนต่อจุลินทรีย์ ลิกนินช่วยให้เส้นใยทนต่อการเกิดเชื้อราและแบคทีเรีย
- ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นวัสดุชีวภาพที่ปลอดสารพิษ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้
บุคคล
นางเสริญสิริ หนูเพชร ผู้สานต่อและก่อตั้ง พ.ศ.๒๕๒๗ สิบเอก สุทิน หนูเพชร เริ่มนำเส้นใยตาลโตนดมาจักสาน และถักทอเป็นงาน หัตถกรรม โดยนางเสริญสิริ หนูเพชร ได้รวมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นกลุ่มหัตถกรรมใยตาล นำมาทำเป็นกระเป๋าหลากหลายรูปแบบเป็นที่รู้จักกันในชื่อ“NODETHING” (โหนดทิ้ง)
นายบัณฑิต หนูเพชร นักออกแบบที่ผสมผสานภูมิปัญญางานหัตถกรรมตาลโตนด โดยจะเลือกใช้เส้นใยตาลโตนด เป็นวัสดุหลักในการทำชิ้นงานร่วมกับวัสดุอื่นในท้องถิ่น หรือวัสดุร่วมสมัยให้เป็นชิ้นงานตามสมัยนิยม

นางเสริญสิริ หนูเพชร

นายบัณฑิต หนูเพชร
ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น
STREGTH - วัตถุดิบหาง่ายในพื้นที่ - ภูมิปัญญาที่เกิดจากสมาชิกภายในกลุ่ม
- ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง
- อุปกรณ์ทุ่นแรงมีความชำรุด- ความจำเพาะของวัสดุหลัก ( เส้นใย ) ในการทำชิ้นงาน

ขนมตาลที่ทำจากผลตาลโตนด
OPPORTUNITIES-สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
-สินค้าได้รับให้ไปแสดง/จำหน่ายภายในงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ
-มีหน่วยงานในพื้นที่และต่างพื้นที่ให้การสนับสนุน
THREATS
- พื้นที่ปลูกตาลโตนดมีแนวโน้มลดลง- แรงงานภาคการเกษตรมีแนวโน้มลดลง -แรงงานที่มีฝีมือลดลงทำไมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร ภูมิปัญญางานหัตถกรรมใยตาลโตนด ( โหนดทิ้ง ) ต้องได้รับการพัฒนา
องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของงานหัตถกรรมใยตาลโตนดมีความเป็นอัตลักษณ์ของสินค้าพื้นถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะของสีและเนื้อหาสัมผัสของเส้นใยตาลโตนด และไม้ตาลโตนด รวมถึงสามารถแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่สืบต่อกันมา ผสมผสานกับการออกแบบร่วมสมัยเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้ชิ้นงานหัตถกรรมเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ
สรุปแนวทางการจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่น( อนุรักษ์/รื้อฟื้น/ประยุกต์/พัฒนาต่อยอด )
การอนุรักษ์ให้คงอยู่
- ต้นน้ำ การส่งเสริมการปลูกและการอนุรักษ์ตาลโตนด บนคันนาบริเวณคาบสมุทรสทิงพระ
- กลางน้ำ การส่งเสริมอาชีพการประดิษฐ์สินค้าหัตถกรรมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
- ปลายน้ำ การขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) หัตถกรรมในตาลโตนดคาบสมุทรสทิงพระ
- ต้นน้ำ การถอดองค์ความรู้หัตถกรรมใยตาลโตนดทั้งกระบวนการ
- กลางน้ำ การจัดความรู้อย่างเป็นระบบ
- ปลายน้ำ การอบรมถ่ายทอดความรู้แก่ Young Smart Farmer/แม่บ้านเกษตรกร
การประยุกต์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมใหม่
- ต้นน้ำ การส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบ ผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของพื้นที่
- กลางน้ำ การพัฒนาออกแบบผลิตภัณฑ์ตามสมัยนิยม
- ปลายน้ำ โครงการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ช่องทางสื่อในกระแสยุคดิจิทัล
การพัฒนาต่อยอดหรือสร้างนวัตกรรมใหม่จากภูมิปัญญา
- ต้นน้ำ การถอดองค์ความรู้การประดิษฐ์เครื่องทอเส้นใยและการทอเส้นใยตาลโตนด
- กลางน้ำ โครงการอบรมถ่ายทอดความรู้การประดิษฐ์เครื่องทอเส้นใยและการทอเส้นใยตาลโตนดแก่ Young Smart Farm/แม่บ้านเกษตรกร
- ปลายน้ำ สร้างนวัตกรรมใหม่จากภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานของรัฐและมหาวิทยาลัยในพื้นที่